'การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม' ผลงานของ 'ชาตรี ประกิตนนทการ' เล่าปรากฏการณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2394 - พ.ศ.2500ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำสมัยรัชกาลที่ 4 ความเชื่อแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่โลกทัศน์แบบไตรภูมิ ความต้องการสร้างความศิวิไลซ์ให้ทัดเทียมตะวันตก การปฎิรูปการปกครองภายใต้แนวคิดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิกฤตอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โหยหาความเป็นไทยและสับสนในการปรับรับรสนิยมอย่างตะวันตกไปพร้อมกัน จนมาถึงความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย และการหวนกลับมาของกระแสอนุรักษ์นิยมในรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม สมัยที่ 2 ล้วนส่งผลกระทบต่อความคิดของผู้คน สะท้อนสภาพสังคม ความคิดในการออกแบบและสร้างสถาปัตยกรรมทั้งสิ้นเป็นที่น่าสังเกตว่าวัด วัง บ้าน เรือน อาคาร อนุสาวรีย์ และพื้นที่สาธารณะ ที่ปรากฎให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ในอยู่ภายใต้ความหมายอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด
'การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม' ผลงานของ 'ชาตรี ประกิตนนทการ' เล่าปรากฏการณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2394 - พ.ศ.2500ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำสมัยรัชกาลที่ 4 ความเชื่อแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่โลกทัศน์แบบไตรภูมิ ความต้องการสร้างความศิวิไลซ์ให้ทัดเทียมตะวันตก การปฎิรูปการปกครองภายใต้แนวคิดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิกฤตอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โหยหาความเป็นไทยและสับสนในการปรับรับรสนิยมอย่างตะวันตกไปพร้อมกัน จนมาถึงความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย และการหวนกลับมาของกระแสอนุรักษ์นิยมในรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม สมัยที่ 2 ล้วนส่งผลกระทบต่อความคิดของผู้คน สะท้อนสภาพสังคม ความคิดในการออกแบบและสร้างสถาปัตยกรรมทั้งสิ้นเป็นที่น่าสังเกตว่าวัด วัง บ้าน เรือน อาคาร อนุสาวรีย์ และพื้นที่สาธารณะ ที่ปรากฎให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ในอยู่ภายใต้ความหมายอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด