ว่าด้วยสำนักกฎหมายบ้านเมืองสมัยใหม่"งานเขียนเรื่องนี้พูดถึงแนวความคิดทางกฎหมายของนักคิดในสำนักกฎหมายบ้านเมืองในศตวรรษที่ยี่สิบสองคนที่มีชื่อเสียงเลื่องระบือคือ ฮันส์ เคลเซ่น และ เอซ. แอล. เอ. ฮาร์ทศศิภาสามารถถ่ายทอดแนวความคิดของนักคิดทั้งสองออกมาได้น่าสนใจและชวนติดตามและทำให้ผู้อ่านชาวไทยเห็นทัศนะของนักคิดในสำนักกฎหมายบ้านเมืองหลังจากยุคของจอห์น ออสติน ได้ชัดเจนขึ้น ที่สำคัญก็คืองานเขียนเรื่องนี้น่าจะช่วยทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของสำนักกฎหมายบ้านเมืองว่าโดยเนื้อแท้แล้วสำนักความคิดนี้ไม่ใช่สำนักความคิดฝ่ายอธรรม ดังเช่นที่ผู้เขียนคำนำเสนอใช้ความพยายามตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้นักศึกษาเห็นประเด็นสำคัญประเด็นนี้ เพราะในที่สุดแล้ว ทัศนะทางนิติปรัชญาแต่ละทัศนะก็ล้วนแล้วแต่พยายามที่จะให้คำตอบว่ากฎหมายคืออะไรจากการอภิปรายโต้แย้งกันในทางวิชาการทั้งสิ้น และผู้ศึกษาก็ควรจะศึกษาความคิดของนักคิดแต่ละคนอย่างปราศจากอคติ เพื่อในที่สุดแล้วจะได้มีทัศนะที่รอบด้านและหนักแน่นเป็นของตนเองได้”-วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ว่าด้วยสำนักกฎหมายบ้านเมืองสมัยใหม่"งานเขียนเรื่องนี้พูดถึงแนวความคิดทางกฎหมายของนักคิดในสำนักกฎหมายบ้านเมืองในศตวรรษที่ยี่สิบสองคนที่มีชื่อเสียงเลื่องระบือคือ ฮันส์ เคลเซ่น และ เอซ. แอล. เอ. ฮาร์ทศศิภาสามารถถ่ายทอดแนวความคิดของนักคิดทั้งสองออกมาได้น่าสนใจและชวนติดตามและทำให้ผู้อ่านชาวไทยเห็นทัศนะของนักคิดในสำนักกฎหมายบ้านเมืองหลังจากยุคของจอห์น ออสติน ได้ชัดเจนขึ้น ที่สำคัญก็คืองานเขียนเรื่องนี้น่าจะช่วยทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของสำนักกฎหมายบ้านเมืองว่าโดยเนื้อแท้แล้วสำนักความคิดนี้ไม่ใช่สำนักความคิดฝ่ายอธรรม ดังเช่นที่ผู้เขียนคำนำเสนอใช้ความพยายามตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้นักศึกษาเห็นประเด็นสำคัญประเด็นนี้ เพราะในที่สุดแล้ว ทัศนะทางนิติปรัชญาแต่ละทัศนะก็ล้วนแล้วแต่พยายามที่จะให้คำตอบว่ากฎหมายคืออะไรจากการอภิปรายโต้แย้งกันในทางวิชาการทั้งสิ้น และผู้ศึกษาก็ควรจะศึกษาความคิดของนักคิดแต่ละคนอย่างปราศจากอคติ เพื่อในที่สุดแล้วจะได้มีทัศนะที่รอบด้านและหนักแน่นเป็นของตนเองได้”-วรเจตน์ ภาคีรัตน์