ถ้าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2,048 วัน ของ ทักษิณ ชินวัตร ได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” ให้เราถกเถียงค้นคว้าได้จนถึงปัจจุบัน เราก็อาจจะเรียกการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 3,076 วันของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ว่า “ระบอบเปรมาธิปไตย” ได้เช่นกัน ขณะที่งานศึกษาเกี่ยวกับ “ระบอบทักษิณ” นั้นมีออกมาเป็นจำนวนมากและหลากหลาย แต่งานศึกษาเกี่ยวกับ “ระบอบเปรมาธิปไตย” นั้นมีไม่มากนัก ถ้าหากการผลิตความเข้าใจเกี่ยวกับ “ระบอบทักษิณ” ภายใต้การนำของทักษิณ ชินวัตร (9 กุมภาพันธ์ 2544 – 19 กันยายน 2549) มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการเมืองไทย โดยเฉพาะการกรุยทางไปสู่การรัฐประหาร 2 ครั้งคือในปี 2549 และ 2557 การผลิตความเข้าใจเกี่ยวกับ “ระบอบเปรมาธิปไตย” ภายใต้การนำของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ (3 มีนาคม 2523 – 4 สิงหาคม 2531) ก็มีผลอย่างมากในการสร้างการเมืองในอุดมคติของฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยเช่นกัน ดังที่เรามักจะเห็นความคิดของผู้สนับสนุนรัฐประหารอยู่เนืองๆ หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามตั้งคำถามกับการดำรงตำแหน่ง 8 ปี 5 เดือน ของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ภายใต้ระบอบเปรมาธิปไตย ว่ายังมีข้อสงสัยอะไรอยู่บ้าง
ถ้าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2,048 วัน ของ ทักษิณ ชินวัตร ได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” ให้เราถกเถียงค้นคว้าได้จนถึงปัจจุบัน เราก็อาจจะเรียกการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 3,076 วันของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ว่า “ระบอบเปรมาธิปไตย” ได้เช่นกัน ขณะที่งานศึกษาเกี่ยวกับ “ระบอบทักษิณ” นั้นมีออกมาเป็นจำนวนมากและหลากหลาย แต่งานศึกษาเกี่ยวกับ “ระบอบเปรมาธิปไตย” นั้นมีไม่มากนัก ถ้าหากการผลิตความเข้าใจเกี่ยวกับ “ระบอบทักษิณ” ภายใต้การนำของทักษิณ ชินวัตร (9 กุมภาพันธ์ 2544 – 19 กันยายน 2549) มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการเมืองไทย โดยเฉพาะการกรุยทางไปสู่การรัฐประหาร 2 ครั้งคือในปี 2549 และ 2557 การผลิตความเข้าใจเกี่ยวกับ “ระบอบเปรมาธิปไตย” ภายใต้การนำของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ (3 มีนาคม 2523 – 4 สิงหาคม 2531) ก็มีผลอย่างมากในการสร้างการเมืองในอุดมคติของฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยเช่นกัน ดังที่เรามักจะเห็นความคิดของผู้สนับสนุนรัฐประหารอยู่เนืองๆ หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามตั้งคำถามกับการดำรงตำแหน่ง 8 ปี 5 เดือน ของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ภายใต้ระบอบเปรมาธิปไตย ว่ายังมีข้อสงสัยอะไรอยู่บ้าง